日本には、おぼんや正月が近くなると、世話になった人や目上の人などに物をおくるしゅうかんがある。
おぼんにおくる物を「お中元」といい、年の終わりにおくる物を「おせいぼ」という。
ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อใกล้จะถึงเทศกาลโอบ้งหรือปีใหม่ จะมีประเพณีมอบของกำนัลแก่บุคคลผู้ที่ให้ความอุปการะหรือผู้ที่อาวุโสกว่า
ของที่มอบให้ช่วงเทศกาลโอบ้งจะเรียกว่า“โอะจูเง็น ” และของที่ให้ตอนสิ้นปีก็จะเรียกว่า“ โอะเซโบะ”
これは、むかし、おぼんや正月に先祖の祭りをした行事にかんけいがある。
先祖を大切にするのと同じ気持ちで、世話になった人や目上の人にあいさつをし、おくり物をしたのが、この「お中元」や「おせいぼ」の始まりである。
むかしは生活に必要な物、たとえば、米や魚などをおくることが多かった。
そのしゅうかんは、今ものこっていて、食料品をおくることが一番多い。
สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับพิธีเฉลิมฉลองบรรพบุรุษในช่วงเทศกาลโอบ้งและปีใหม่
การไปเยี่ยมทักทายบุคคลผู้ที่อาวุโสกว่าหรือผู้ที่มีอุปการะคุณต่อเราและมอบของกำนัลให้นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของ“โอะจูเง็น ”และ“ โอะเซโบะ”
สมัยก่อน โดยมากจะมอบสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ข้าวหรือปลา
ธรรมเนียมแบบนั้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนิยมมอบสิ่งของจำพวกอาหารมากที่สุด
外国人の中には、「日本人は、物をあげたり、もらったりするのが好きな国民だ。」と言う人もいる。
外国の人に日本人のこのしゅうかんを、りかいしてもらうのは、むずかしいかもしれない。
しかし、このようなおくり物には、「いろいろお世話になりました。しんせつにしてくださって、ありがとうございました。あなたにたすけていただいたので、いい生活ができました。これからもよろしくおねがいします。私のお礼の気持ちをこのプレゼントといっしょにおくります。」という意味があるのである。
ในกลุ่มชาวต่างชาตินั้นมีบางคนกล่าวว่า“ ชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ชอบให้และรับของ ”
การที่จะให้ชาวต่างชาติเข้าใจธรรมเนียมแบบนี้ของชาวญี่ปุ่นอาจเป็นเรื่องยาก
แต่การมอบของกำนัลเช่นนี้ก็มีความหมายด้วยว่า“เราได้รับความกรุณาต่างๆมากมาย ขอบคุณมากที่ให้ความเมตตา เป็นเพราะคุณได้ช่วยเหลือไว้ ถึงมีความเป็นอยู่ที่ดีมาตลอด จากนี้ก็ขอความกรุณาด้วย และขอมอบความรู้สึกขอบคุณมาพร้อมกับของขวัญชิ้นนี้ ”
外国でも、しんせつにしてもらった時や助けてもらった時に、その人にプレゼントをおくって、かんしゃの気持ちをあらわすことがあるだろう。
それと同じである。
日本人の中には、しんせつにしてもらった時だけでなく、おぼんや年の終わりにもおくり物をする人がいるのである。
ในต่างประเทศ เมื่อได้รับความเมตตาหรือได้รับความช่วยเหลือก็มักจะมอบของขวัญแก่บุคคลนั้นเป็นการแสดงความรู้สึกขอบคุณ
ซึ่งก็เช่นเดียวกัน
ในกลุ่มของชาวญี่ปุ่นนั้น จะมีคนที่มอบของกำนัลให้แก่ผู้อื่นไม่เพียงแต่เฉพาะตอนที่ได้รับความเมตตาเท่านั้น แต่ยังมอบให้ในช่วงเทศกาลโอบ้งหรือช่วงปลายปีอีกด้วย